บอกลาออฟฟิศซินโดรมด้วยโบท็อกซ์

ออฟฟิศซินโดรมนับเป็นหนึ่งในปัญหาของเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ต้องนั่งทำงานทำงานที่โต๊ะเป็นเวลานานๆ ร่างกายเคลื่อนไหวน้อย ซึ่งการฉีดโบท็อกซ์เพื่อรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมนั้นเป็นทางเลือกที่กำลังเป็นที่นิยมในยุคนี้

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) คือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดบริเวณคอ หลัง บ่า ไหล่ แขน หรือข้อมือ ยึดเกร็งและปวด มักเกิดจากการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลานานจนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวเกิดการอักเสบ โดยผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมจำเป็นต้องรีบรักษาทันที เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจนเกิดอันตรายได้

ระดับความรุนแรงของออฟฟิศซินโดรม

  • อาการบาดเจ็บเริ่มต้น โดยทั่วไปออฟฟิศซินโดรมจะเริ่มต้นจากอาการเมื่อยที่เมื่อเราพักผ่อน นวด ยืดเหยียดในบริเวณดังกล่าว หรือเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆก็จะหายหรือทุเลาลงได้
  • อาการบาดเจ็บซ้ำๆ ระหว่างการทำงาน ทุกครั้งที่อาการปวดเมื่อยเริ่มเป็นซ้ำๆ ระหว่างทำงาน นี่คือสัญญาณเตือนภัยว่าออฟฟิศซินโดรมกำลังเป็นอันตราย ในระยะนี้ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรักษาอาการบาดเจ็บแต่เนิ่นๆ
  • อาการเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึ้นแม้ในเวลาไม่ได้ทำงาน เมื่ออาการเจ็บปวดบริเวณต่างๆ ของร่างกายเพิ่มมากขึ้น แม้ตอนที่ไม่ได้ทำงานก็ยังเจ็บ และแม้จะลองพัก ลองยืดเหยียดอย่างไรก็ไม่หาย ลามไปถึงกระทบกระเทือนต่อการใช้ชีวิตในประจำวัน นี่คือระดับอาการที่ควรพบแพทย์โดยด่วน

วิธีแก้ออฟฟิศซินโดรม

  1. การออกกำลังกาย เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยการออกกำลังกายเบา ๆ อย่างน้อยวันละ 15 นาทีหลังเลิกงาน เป็นการคลายกล้ามเนื้อและช่วยฟื้นฟูให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
  2. การปรับพฤติกรรมการทำงาน เช่น การเปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนท่านั่ง และขยับตัวบ่อย ๆ ในช่วงเวลาระหว่างวัน ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้มาก ในขณะเดียวกันก็ยังลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี
  3. การฝังเข็ม หนึ่งในทางเลือกของวิธีแก้อาการออฟฟิศซินโดรม ตามตำราแพทย์แผนจีนที่มีมายาวนานกว่า 2,000 ปี ด้วยหลักการแทงเข็มลงไปบนจุดต่าง ๆ ในร่างกายที่มีอาการปวด เช่น บริเวณต้นคอ บ่าไหล่ และแขนช่วงล่าง เพื่อปรับสมดุลของร่างกาย
  4. การรับประทานยา เป็นการบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งยารับประทานแก้ออฟฟิศซินโดรมที่ใช้บ่อยมี 4 กลุ่ม คือ ยาแก้ปวดและต้านการอักเสบ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxants) ยาแก้ปวดที่ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น พาราเซตามอล และยาคลายกังวล
  5. การฉีดโบท็อกซ์ เป็นอีกหนึ่งวิธีได้รับความนิยมมาก ซึ่งในปัจจุบันหลายประเทศนำการฉีดโบท็อกซ์มาเป็นหนึ่งในวิธีแก้อาการออฟฟิศซินโดรมกันมากขึ้น เพราะสามารถคลายกล้ามเนื้อได้เฉพาะจุดและมีผลลัพธ์ที่ไวกว่าการใช้ยานวดคลายกล้ามเนื้อ อาการจะดีขึ้นทันทีหลังฉีด แถมยังอยู่ได้นาน 4-6 เดือนเลยทีเดียว นอกจากนี้การฉีดโบท็อกซ์ยังเป็นวิธีที่เกิดผลข้างเคียงหลังฉีดน้อยมาก เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

โบท็อกซ์แก้ออฟฟิศซินโดรมยี่ห้อไหนดี?

สำหรับการรักษาออฟฟิศซินโดรมนั้นสามารถเลือกใช้โบท็อกซ์ได้หลายยี่ห้อ ตามงบประมาณของตัวเองได้เลย แต่จำเป็นที่จะต้องเป็นโบท็อกซ์ที่ผ่าน อย.ไทย และทำหัตถการโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งจะมีให้เลือกมากมายทั้ง โบท็อก Allergan (อเมริกา ), โบท็อก Dysport (อังกฤษ), โบท็อก Xeomin (เยอรมัน) และ โบท็อกเกาหลี Nabota/ Aestox

แชร์บทความนี้